วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูล

การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายแลนนั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ หากนำเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องต่อสายสัญญาณเข้าหากันจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองนั้นส่งข้อมูลถึงกันได้ ครั้นนำเอาคอมพิวเตอร์เครื่องที่สามต่อร่วมด้วยจะทำให้มีข้อยุ่งยากเพิ่มขึ้น และยิ่งถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากการที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดสื่อสารถึงกันได้ก็ยิ่งมีข้อยุ่งยากมากขึ้น 
ด้วยเหตุนี้ผู้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงต้องหาวิธีการ และเทคนิคในการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบต่างๆ เพื่อลดข้อยุ่งยากในการเชื่อมโยงสายสัญญาณ โดยใช้จำนวนสายสัญญาณน้อยและเหมาะกับการนำไปใช้งานได้ ทั้งนี้เพราะข้อจำกัดของการใช้สายสัญญาณเป็นเรื่องสำคัญมาก
บริษัทผู้พัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้พยายามคิดหาวิธี และใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลนออกมาหลายระบบ ระบบใดได้รับการยอมรับก็มีการตั้งเป็นมาตรฐานกลาง เพื่อว่าจะได้มีผู้ผลิตที่สนใจทำการผลิตอุปกรณ์เชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายเทคโนโลยีเครือข่ายเทคโนโลยีเครือข่ายแลนจึงมีหลากหลาย เครือข่ายแลนที่น่าสนใจ เช่น อีเธอร์เน็ต โทเค็นริง และสวิตชิง
    4.1 อีเธอร์เน็ต (ethernet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบสายสัญญาณร่วมที่เรียกว่า บัส (bus) คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต่อเชื่อมเข้ากับสายสัญญาณเส้นเดียวกัน  ข้อมูลสามารถสื่อสารจากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องใดก็ได้   โดยสื่อสารผ่านบัสนี้ การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่ซ้ำกัน เช่น จากรูปที่ 6.9 เครื่องคอมพิวเตอร์ A ต้องการส่งสัญญาณข้อมูลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ D ก็จะส่งข้อมูลมาพร้อมกันมากกว่าหนึ่งสถานีและเกิดการชนกัน ข้อมูลชุดที่ส่งช้ากว่าจะได้รับการยกเลิกและจะต้องส่งข้อมูลชุดนั้นมาใหม่ การเชื่อมต่อแบบอีเธอร์เน็ตในยุคแรกใช้สายสัญญาณแบบแกนร่วมเรียกว่าสาย โคแอกเชียล (coaxial cable) ต่อมามีผู้พัฒนาระบบการรับส่งสัญญาณผ่านอุปกรณ์กลางที่เรียกว่า ฮับ (hub) และเรียกระบบใหม่นี้ว่า เทนเบสที (10BASE-T) โดยใช้สัญญาณที่มีขนาดเล็กและราคาถูก ที่เรียกว่า สายยูทีพี ภายในฮับมีลักษณะเป็นบัสที่เชื่อมสายทุกเส้นเข้าด้วยกัน ดังนั้นการใช้ฮับ และบัสจะมีระบบการส่งข้อมูลแบบเดียวกัน แบะมีการพัฒนาให้เป็นมาตรฐาน กำหนดชื่อมาตรฐานที่นี้ว่า IEEE 802.3 ความเร็วของการรับส่งสัญญาณตามมาตรฐานนี้กำหนดไว้ที่ 10,100 และ 1,000 ล้านบิดต่อวินาที และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีก  
    4.2 โทเค็นริง (token ring) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาขึ้น โดยการเชื่อมโยงเครือข่าย
      คอมพิวเตอร์ทั้งหมดใช้รูปแบบวงแหวน โดยด้านหนึ่งเป็นตัวรับโดยกาเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่งสัญญาณ การเชื่อมต่อแบบนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถส่ง ข้อมูลถึงกันได้ โดยผ่านไปในเส้นทางวงแหวนนั้น  เครือข่ายโทเค็นริงที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้มีความเร็วในการรับส่งสัญญาณ 16 ล้านบิตต่อวินาที ข้อมูลจะไม่ชนกันเพราะการรับส่งมีลำดับแน่นอน ข้อมูลที่รับส่งจะมีลักษณะเป็นชุดๆ แต่ละชุดมีการกำหนดตำแหน่งแน่นอนว่ามาจากสถานีใด จะส่งยังสถานีปลายทางที่ใด ดังนั้นถ้าสถานีใดพบข้อมูลที่มีการระบุตำแหน่งปลายทางมาเป็นของตัวเอง ก็สามารถคัดลอกข้อมูลนั้นเข้าไปได้ และตอบรับว่าได้รับข้อมูลนั้นแล้ว
        4.3 สวิตชิง (switching) เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนามาเพื่อให้รับส่งข้อมูลระหว่างสถานีได้เร็วยิ่งขึ้น การคัดเลือกชุดข้อมูลที่ส่งมาและส่งต่อไปยังสถานีปลายทางจะกระทำที่ชุมสายกลางที่เรียกว่า สวิตชิง ดังนั้นรูปแบบของเครือข่ายจึงมีลักษณะเป็นรูปดาว
        อีเธอร์เน็ตสวิตช์เป็นการสลับสายสัญญาณในเครือข่าย โดยรูปแบบสัญญาณเป็นแบบอีเธอร์เน็ต การสวิตชิงนี้ แตกต่างจากแบบฮับ เพราะแบบฮับมีโครงสร้างเหมือนเป็นจุดร่วมของสายสัญญาณที่จะต่อกระจายไปยังทุกสาย แต่สวิตชิงจะเลือกการสลับสัญญาณมีความเป็นอิสระต่อกันมาก ทำให้การรับส่งสัญญาณไม่มีปัญญาหาเรื่องการชนกันของข้อมูล อีเธอร์เน็ตสวิตชิงยังใช้มาตรฐานความเร็วเหมือนกับอีเธอร์เน็ตธรรมดา คือความเร็วในการรับส่งสัญญาณตั้งแต่ 10,100 และ 1,000 ล้านบิตต่อวินาที
        เอทีเอ็มสวิตช์เป็นอุปกรณ์การสลับสารสัญญาณในการรับส่งข้อมูลที่มีการรับส่งกันเป็นชุดๆ ข้อมูลแต่ละชุดเรียกว่า เซล มีขนาดจำกัด การสวิตชิงแบบเอทีเอ็มทำให้ข้อมูลจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่งดำเนินไปอย่างรวดเร็ว การที่เอทีเอ็มสวิตช์มีความเร็วในการสลับสัญญาณสูง จึงสามารถประยุกต์งานสมัยใหม่หลายอย่างที่ต้องการความเร็วสูง เช่น การเชื่อมโยงสื่อสารแบบหลายสื่อที่รวมทั้งข้อความ รูปภาพ เสียงและวีดีทัศน

พัฒนาการของการสื่อสาร

วิวัฒนาการของการสื่อสาร

หากจะพูดว่าการสื่อสารข้อมูลเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับมนุษย์คงจะไม่ผิดทั้งนี้เป็นเพราะว่าการสื่อสารข้อมูลนั้นทำให้มนุษย์สามารถสื่อความคิด เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตและมีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
             การติดต่อข่าวสารกันของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีการที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น การใช้ม้าเร็ว นกพิราบสื่อสาร แต่เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตอย่างไม่หยุดนิ่ง เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสื่อสารก็ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย ก้าวหน้าควบคู่กันมาทั้งนี้เพื่อความสะดวกสบายในการสื่อสาร จากการที่ใช้ม้าเร็ว นกพิราบสื่อสาร ก็เปลี่ยนมาเป็นจดหมาย หรือพัสดุภัณฑ์อื่น มีโทรเลข มีโทรศัพท์ มีวิทยุ โทรทัศน์ดาวเทียมสื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารให้ได้ยินทั้งเสียงและได้เห็นทั้งภาพเหล่านี้ล้วนเป็นพัฒนาการด้านความคิดของมนุษย์ที่คิดค้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการข่าวสารข้อมูลของมนุษย์ด้วยกันเอง
จะว่าไปแล้ว มนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคม จึงย่อมต้องติดต่อสื่อสารกัน มนุษย์ที่อยู่อาศัยในดินแดนพื้นที่ที่ห่างไกลกัน ถึงขั้นเป็น เมือง เป็นรัฐอันอิสระ ต่างก็ต้องมีวิธีส่งข่าวสารถึงกันทั้งสิ้น
การติดต่อข่าวสารกันของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีการต่างๆ ดังนี้
ม้าเร็ว
ผู้ส่งสารในระบบ "ม้าเร็ว" นี้ ก็นับว่าดีทีเดียว คือไม่ล่าช้า ทั้งยังส่งข่าวได้ทันใจ ซึ่ง ชาวจีนโบราณมีการพัฒนาระบบการส่งข่าวทางไกลให้ คล่องตัวตลอดมา โดยระบบเฟื่องสุดขีดในช่วงที่มองโกลมาจัดการ (จริงๆ แล้วมีการพัฒนากันมานานก่อนหน้านั้นเป็น 100 ปีทีเดียว)
               
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ การสื่อสารระหว่างทหารที่ออกรบในสมรภูมิกับศูนย์บัญชาการ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก ถ้าจะใช้ทหารเดินเท้าในการส่งข่าว ไหนจะต้องหลบหลีกให้พ้นสายตาข้าศึก และต้อง เผชิญอุปสรรคนานัปการ ทั้งภูมิอากาศและภูมิประเทศที่กันดาร นกพิราบสื่อสาร จึงถูกนำมาใช้ในการส่งข่าวสารจากสมรภูมิกลับสู่บ้านเกิด ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการ

เคอร์ซัส พับลิคัส
ส่วนทางโรมันก็มีระบบที่ละเอียดซับซ้อนในการติดต่อส่งข่าวสารเช่นเดียวกัน ซึ่งเรียกเป็นภาษา โรมัน ว่า เคอร์ซัส พับลิคัส ระบบของโรมันนี้นับว่าฉลาดไม่น้อย คือใช้แบบส่งเป็นทอด หรือวิ่งผลัด ซึ่งทำให้ การส่งข่าวสารผ่านตลอดทั่วแดนได้โดยง่าย มีความสะดวก คล่องตัวขึ้น รวมทั้งมีการตรวจ ตราอย่างเข้มงวด มีเครือข่ายโยงใยในระบบตรวจสอบของรัฐ ซึ่งจะการันตีเรื่องความแม่นยำ และ ความน่าเชื่อถือในเรื่องของหลวงได้ดีด้วย แม้ตอนที่อาณาจักรโรมันแตก ระบบเคอร์ซัส พับลิคัส นี้ยัง ยืนหยัดใช้กันอยู่พอสมควร


ระบบไปรษณีย์
ครั้นถึงยุคกลางของยุโรป ก็มีวิธีการอื่นขึ้นมา ซึ่งเกิดจากการค้าขายที่เฟื่องฟู โดยเฉพาะในอิตาลี ติดต่อส่งสินค้าการพาณิชย์ กันในเมืองใหญ่ๆ เช่น จากเวนิส ถึง คอนสแตนติโนเปิลฯ ต่อมามีความเจริญก้าวหน้าของระบบการศึกษา ตลอดจนระบบการพิมพ์ก็มีการพัฒนาเพิ่มยิ่งขึ้น รัฐบาลของประเทศต่างๆ จึงเห็นความสำคัญของการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ และข้ามทวีป เมื่อมี การเขียนจดหมายมากขึ้น และมีความต้องการสื่อสารอย่างเร่งรีบขึ้น จึงมีกลุ่มบุคคลที่เล็งเห็นความ สำคัญของการทำกิจการทำนองนี้ เช่น ครอบครัวแท็กซี่ (TAXIS FAMILY) ซึ่งมีกำเนิดอยู่ใน เบอร์กา- โม ประเทศอิตาลี พวกเขาได้จัดตั้งระบบไปรษณีย์ ระหว่างชาติขนาดมหึมา ใช้คนส่งสารถึง 2 หมื่น คน เพื่อส่งไปรษณีย์ทั่วยุโรป
                ขณะเดียวกัน ระบบไปรษณีย์ภายในประเทศก็เจริญเติบโตขึ้น มีการจัดการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1627 และในอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1635 ระบบการจัดการของรัฐนั้นได้ พยายามควบคุมให้การส่งเอกสารของทางราชการเป็นไปอย่างรัดกุม
อย่างไรก็ตาม ในภายหลัง เอกชนก็เข้ามาตั้งกิจการ เย้ยระบบผูกขาดของรัฐจนได้ ต่อมามีการ พัฒนาขึ้นหลายวิธี เช่นใน ศตวรรษที่ 18 และ 19 มีการใช้รถโค้ชเทียมม้า ทำให้เกิดความรวดเร็วขึ้น มีบุคคลคนหนึ่งที่เปิดการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของระบบไปรษณีย์อังกฤษในศตวรรษที่ 19เขาคือ โรว์แลนด์ ฮิล เข้ามาจัดการระบบจนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ความหมายของ E-Mail
อีเมล์ E Mail หรือ Electronics Mail แปลตรง ๆ ตัวก็คือ ไปรษณีย์อีเลคโทรนิคส์ นั่นเอง ดังนั้น ความหมายง่าย ๆ ของอีเมล์ ก็คือ เป็นเครื่องมือสำหรับติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันโดยที่จากเดิม เราอาจจะใช้วิธีการส่งข้อความ ไปหาผู้อื่นด้วยการเขียนเป็นจดหมาย และส่งผ่านทางไปรษณีย์ แต่ในโลกของอินเตอร์เน็ต จะมีบริการที่เรียกว่า อีเมล์ ซึ่งสามารถทำการส่งข้อความต่าง ๆ ไปยังผู้รับปลายทาง (ที่ใช้บริการอีเมล์) ได้ และในปัจจุบันนี้ ยังสามารถทำการแนบ ไฟล์เอกสาร ของคอมพิวเตอร์ หรือรูปภาพต่าง ๆ ไปกับอีเมล์ได้ด้วย จึงทำให้เพิ่มความ สะดวกสบายได้มากขึ้น

อุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยง

การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปจะใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
ด้วยสายตัวนำกันมากที่สุด เพราะมีต้นทุนในการเชื่อมโยงต่ำมากกว่า
เทคโนโลยีอื่น การเชื่อมโยงเครือข่ายสิ่งที่สำคัญคือความเร็วในการรับส่ง
ข้อมูล ซึ่งความเร็วนี้จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของสายตัวนำที่ใช้ ในช่วงแรกๆ
การสื่อสารด้วยสายตัวนำจะมีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายขนาด 9,600 บิต
ต่อวินาที ต่อมามีการพัฒนาจนกระทั่งปัจจุบันสามารถส่งผ่านข้อมูลด้วย
ความเร็วสูงกว่า 100 เมกกะบิตต่อวินาที สายสื่อสารสำหรับเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทต่อการสร้างระบบ
เครือข่าย สายสื่อสารหรือสายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรือ
อุปกรณ์เครือข่ายที่นิยมใช้มีหลายแบบ ดังนี้ 
สายเกลียวคู่ (Twisted pair Cable)
        สายเกลียวคู่ เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด  ประกอบด้วยสายทองแดง  2 เส้น  แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียว  สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้  แต่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อน  แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้   1. สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่มีการกั้นสัญญาณรบกวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยูทีพี สายสัญญาณประเภทนี้เป็นสายคู่บิดเกลียวที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ มีการปรับปรุงคุณสมบัติจนสามารถใช้กับสัญญาณความถี่สูงได้ สายยูทีพีใช้ลวดทองแดง 8 เส้น ขณะที่ในระบบโทรศัพท์จะใช้เพียง 2 หรือ 4 เส้น ซึ่งต่อเข้ากับหัวต่อแบบ RJ45 ซึ่งเป็นหัวต่อที่มีลักษณะคล้ายกับหัวต่อของโทรศัพท์ แต่โทรศัพท์จะเรียก RJ11 การที่มีสายทองแดงไว้หลายเส้นก็เพื่อให้หัวต่อ RJ45 ใช้งานได้ในหลายๆ รูปแบบ เช่น
  - ใช้สายทองแดงตั้งแต่ 3-8 เส้น เป็นสายสัญญาณ 10 เมกะบิตของอีเธอร์เน็ตแบบ 10BASE-T
  - ใช้สายทองแดง 4 เส้น เป็นสายสัญญาณ 100 เมกะบิตของอีเธอร์เน็ตแบบ 100BASE-T
  - ใช้สายทองแดง 8 เส้น เป็นสายสัญญาณของเสียง
  - ใช้สายทองแดง 2 เส้น สำหรับระบบโทรศัพท์  

2. สายคู่บิดเกลียวชนิดมีการกั้นสัญญาณรบกวน (Shielded Twisted Pair : STP) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอสทีพี เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยตัวกั้นสัญญาณเพื่อป้องกันการรบกวน เอสทีพีใช้ความถี่สูงกว่ายูทีพี แต่มีราคาแพงกว่า 


สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)         สายเคเบิลแบบโคแอกเชียล ส่วนของสายส่งข้อมูลจะอยู่ตรงกลางเป็นลวดทองแดงมีชั้นของตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่  2  ชั้น  ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง  ชั้นนอกเป็นฟั่นเกลียว และคั่นระหว่างชั้นด้วยฉนวนหนา  เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวน  สายโคแอกสามารถม้วนโค้งงอได้ง่าย  มี  2  แบบ คือ  75  โอมห์ และ  50 โอมห์  ขนาดของสายมีตั้งแต่  0.4 - 1.0  นิ้ว ชั้นตัวเหนี่ยวนำทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียพลังงานจากแผ่รังสี  เปลือกฉนวนหนาทำให้สายมีความคงทนสามารถฝังเดินสายใต้พื้นดินได้  
เส้นใยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber Optic Cable)
     
การสื่อสารในสายไฟเบอร์ออปติกคือการเปลี่ยนสัญญาณ (ข้อมูล)ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงส่งผ่านสายไฟเบอร์ออปติก  สายไฟเบอร์ออปติกทำจากแก้วหรือพลาสติกสามารถส่งลำแสงผ่านสายได้ทีละหลาย ๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน  ลำแสงที่ส่งออกไปจะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจนถึงปลายทาง  สายไฟเบอร์ออปติกมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลได้สูงมาก
      ความผิดพลาดในการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ออปติกนั้นมีน้อยมาก  คือประมาณ  1 ใน  10 ล้านบิตต่อการส่ง  1,000 ครั้ง  เท่านั้น  ทั้งยังป้องกันการรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้โดยสิ้นเชิง แม้ว่าการส่งข้อมูลผ่านทางสายไฟเบอร์ออปติก จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม  และจำนวนมหาศาล แต่ราคาสายไฟเบอร์ออปติกและอุปกรณ์ประกอบสำหรับการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง และจากคลื่นแสงกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า เครื่องทบทวนสัญญาณ มีราคาสูงกว่าการส่งสัญญาณผ่านสายสัญญาณแบบอื่น สายไฟเบอร์ออปติกมีความแข็งแต่เปราะจึงยากต่อการเดินสายไฟตามที่ต่าง ๆ  ได้ตามที่ต้องการ  อีกทั้งการเชื่อมต่อระหว่างสายก็ทำได้ยากมาก  เพราะต้องระวังไม่ได้เกิดการหักเห

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายที่เรียกกันว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นก่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดังนี้


การใช้ข้อมูลร่วมกัน
    ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะมีการจัดการด้านข้อมูลสารสนเทศโดยจะเก็บข้อมูลไว้เป็นฐานข้อมูลเพื่อให้สามารถ จัดการกับข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น
    ข้อมูลนักเรียนของโรงเรียนจะถูกจัดเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลของระบบงานทะเบียนนักเรียน เมื่อมีการตรวจสอบผลการเรียนในรายวิชาต่างๆ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายก็สามารถเข้าตรวจสอบได้ทันทีด้วยความรวดเร็ว รวมทั้งการแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติมข้อมูลนักเรียนก็จะทำได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน
    หรือ ข้อมูลหนังสือในห้องสมุด ก็จะมีการจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลหนังสือห้องสมุด สามารถให้บริการยืมคืน สืบค้นข้อมูล แก้ไขปรับปรุง เมื่อมีหนังสือใหม่

เข้ามาก็สามารถเพิ่มเติมได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทรัพยากรในระบบงานคอมพิวเตอร์บางอย่าง เช่น เครื่องพิมพ์  ถ้าติดตั้งไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายและกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดในระบบเครือข่ายเข้ามาใช้ได้ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆในระบบเครือข่ายก็สามารถสั่งพิมพ์งานมาที่เครื่องพิมพ์เครื่องนี้ได้ทันที เป็นการประหยัดทรัพยากร เพราะทรัพยากรบางอย่างเช่นเครื่องพิมพ์มีราคาแพง และไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา


การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
      ในระบบเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้ หรือสามารถส่งข่าวสารถึงกัน ร่วมไปถึงการพูดคุยกันผ่านระบบเครือข่ายได้ทันที โดยอาศัยเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์ในการติดต่อสื่อสาร เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การใช้เว็บบอร์ด การใช้ Chat เป็นต้น

การใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติ  ระบบสำนักงานอัตโนมัติคือระบบงานที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกันโดยผ่านระบบเครือข่ายแทนการใช้กระดาษ ซึ่งจะเป็นการช่วยในการประหยัดกระดาษในการติดต่อสื่อสาร และยังช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วยเพราะในการผลิตกระดาษจะต้องมีการตัดไม้มาใช้ในกระบวนการผลิต เช่น เมื่อต้องการส่งเอกสารหนังสือคำสั่ง หรือจดหมาย ถึงกัน ก็พิมพ์เอกสารด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป แล้วส่งผ่านระบบเครือข่ายไม่ต้องพิมพ์ลงบนกระดาษ


การใช้แหล่งเรียนรู้ร่วมกัน ในระบบเครือข่ายสามารถสร้างแหล่งเรียนรู้ต่างๆในรูปแบบต่างๆ แล้วนำมาเก็บไว้ในระบบเครือข่าย เมื่อต้องการอ่านหรือเรียนรู้ในเรื่องใด ก็สามารถเข้ามาศึกษาได้

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามระยะทางที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์การสื่อสาร
   เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งแยกออกตามสภาพการเชื่อมโยงได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น หรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN)
2. เครือข่ายระดับเมือง หรือเครือข่ายแมน (Metropolitan Area Network : MAN)
3. เครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN)

เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
                   เครือข่ายแลน หรือเครือข่ายท้องถิ่น เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้าง ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็น เครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การสามารถดำเนินการทำเองได้ โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคาร หรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็ก ที่เชือมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้อง หรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย 
เครือข่ายระดับเมือง (MAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ภายในเมือง หรือภายในจังหวัด เป็นระบบที่มีขนาดกลางอยู่ระหว่าง เครือข่ายแลน กับ เครือข่าย แวน 



เครือข่ายระดับประเทศ (WAN)
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม